การทดสอบ Dirt-Stain Resistance เพื่อดูประสิทธิภาพของ Clean Technology ของ Colorbond® Steel

เมทัลชีท ในท้องตลาด บางยี่ห้อ จะแจ้งว่ามีการรับประกัน การไม่ผุเป็นรูพรุนอันเนื่องมาจากการกัดกร่อน และสีไม่ซีดจาง เป็นเวลา เท่านั้นเท่านี้ปี แต่สำหรับเมทัลชีท Colorbond® Steel ที่มี Clean Technology (อ่านเพิ่มเติม) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ BlueScope ช่วยลดการยึดเกาะของคราบฝุ่นบนพื้นผิวให้สีไม่หม่นหมองไปก่อนเวลาอันควร และยังเป็นยี่ห้อแรก ที่กล้ารับประกัน การไม่เกิดรอยด่างจากคราบสะสมของฝุ่น 5 ปี เพราะมีการใช้งานจริงในโครงการต่างๆมากกว่า 35 ปี (ดูโครงการอื่นๆ ของบลูโคป https://bit.ly/3RA7on4) และยังมีผลการทดสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่า Clean Technology ของเมทัลชีท Colorbond® Steel นั้นทำให้คราบฝุ่นไม่สะสมจนเกิดรอยด่าง เมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไป

โดยการทดสอบนี้เรียกว่า การทดสอบ Dirt-Stain Resistance เป็นการจำลองสภาวะแวดล้อมในอากาศที่มีฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ เขม่ารถยนต์จากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์โดยฝุ่นเหล่านั้นจะมีองค์ประกอบหลักคือ คาร์บอน ที่เป็นสาเหตุหลักของคราบ และรอยด่าง

ขั้นตอนที่ 1 : นำตัวอย่างเมทัลชีท Colorbond® Steel และเมทัลชีททั่วไป 3 เฉดสี ซึ่งเป็นตัวแทนของสีโทน เข้มมาก เข้มปานกลาง และอ่อน นำไปเข้าเครื่องวัดค่าสี (Datacolor Spectrophotometer)  เพื่อตรวจสอบค่าความสว่าง (L*) โดย 0 คือ สีดำ และ 100 คือ สีขาว ของแผ่นตัวอย่างตั้งต้น ก่อนทำการทดลอง

ขั้นตอนที่ 2 : นำผงคาร์บอนมาผสมน้ำในอัตราส่วน 15 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร  และ นำมาหยดลงบนเมทัลชีทตัวอย่างทั้งหมด ให้ได้น้ำหนักสารละลาย 3 กรัมที่เท่าๆกัน เสมือนเป็นฝุ่นละอองที่โดนความชื้นตกลงบนหลังคาเมทัลชีท

ขั้นตอนที่ 3  : นำแผ่นตัวอย่าง เข้าตู้อบ และตั้งค่าอุณหภูมิที่ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อจำลองสภาวะฝุ่นที่มีความชื้นและถูกแสงแดดช่วงเวลากลางวัน ความร้อนจะไล่ความชื้นให้ระเหยออกไป ทิ้งไว้แต่คราบฝุ่น

ขั้นตอนที่ 4  : เมื่อครบ 24 ชั่วโมง นำแผ่นตัวอย่างทั้งหมดออกจากตู้อบ รอให้อุณหภูมิลดลง และเทผงคาร์บอนที่แห้งออกจากแผ่นตัวอย่าง จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำเปล่า โดยใช้แปรงขนอ่อนๆ ถูเบาๆ จำนวน 16 ครั้งเพื่อเอาคราบฝุ่นออก เป็นการจำลองเวลาฝนตก หรือการทำความสะอาดหลังคา ที่น้ำจะชะล้างฝุ่นออกไปจากเมทัลชีท จากนั้นปล่อยทิ้งไว้จนแห้ง

จะสังเกตได้ว่าเมื่อล้างด้วยน้ำเปล่าแล้ว เมทัลชีท Colorbond® Steel มีคราบเกาะจากผงคาร์บอนน้อยมาก เมื่อเทียบกับเมทัลชีททั่วไป ที่ผงคาร์บอนจะฝั่งตัวลงไปในเนื้อสี จนไม่สามารถล้างออกได้

ขั้นตอนที่ 5  : นำแผ่นตัวอย่างที่แห้งแล้วเข้าเครื่องวัดค่าสี (Datacolor Spectrophotometer๗ เพื่อตรวจสอบค่าความสว่าง (L*) ที่เปลี่ยนแปลงไปจากแผ่นตัวอย่างตั้งต้นในขั้นตอนที่ 1  หรือที่เรียกว่าค่า Delta L* (DL*)  โดยค่า Delta L* ติดลบ (-) แสดงถึงสีที่ดำเข้มขึ้น หรือหม่นหมองขึ้น

รูปผลการทดลอง Dirt-stain retention ณ. ห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดระยอง ที่ได้รับ มอก. 17025-2561

จากการทดสอบ เมื่อดูด้วยตาเปล่าจะเห็นว่าประสิทธิภาพของ Clean Technology ของ Colorbond® Steel สามารถช่วยให้ผงคาร์บอนไม่สามารถฝังตัวลงไปในเนื้อของพื้นผิวได้ ทำให้ทิ้งคราบสกปรกน้อยกว่า เมทัลชีททั่วไปที่ ผงคาร์บอนจะฝังตัวและ ล้างออกได้ยาก ซึ่งค่า Delta L* (DL*)  ที่ได้จาก Colorbond® Steel มีค่าลบน้อยกว่า ซึ่งหมายถึง หม่นหมองน้อยกว่า เมทัลชีททั่วไป (ค่าลบน้อยหมายถึงใกล้เคียงกับสภาพเริ่มต้นมากที่สุด)

โรงงาน บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง ใช้เมทัลชีท Colorbond® Steel อายุ 26 ปี ยังไม่เกิดสนิม

โรงงาน บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป ไลสาจท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ใช้เมทัลชีท Colorbond® Steel อายุ 35 ปี ยังไม่เกิดสนิม

เพราะใช้จริง จึงกล้ารับประกัน  เมทัลชีท บลูสโคป เพราะมีการใช้งานจริงที่โครงการต่างๆกว่า 35 ปีสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3L1RLRx นอกจากนี้เรายังมีการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆอีกด้วย

การทดสอบคุณภาพสินค้า บลูสโคป เพิ่มเติมได้ที่