บลูสโคป ฉลอง 28 ปีแห่งความเป็นผู้นำเมทัลชีท เดินหน้าก้าวสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ความยั่งยืนของประเทศ ดันแนวคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กว่า 28 ปีที่บลูสโคปได้ดำเนินงานธุรกิจในประเทศไทย และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในฐานะผู้ผลิตเหล็กเคลือบโลหะและเหล็กเคลือบสี (เมทัลชีท) บริษัทฯยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภค พร้อมเป็นอีกหนึ่งพลังในการขับเคลื่อนและส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศไทยให้พัฒนาไปไปสู่ความยั่งยืน

เพื่อเป็นการตอกย้ำความยิ่งใหญ่และเดินเกมรุกในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดงาน “INSPIRING STRENGTH TOWARDS A LONG LASTING WORLD” ฉลองครบรอบ 28 ปี เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566  ณ สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก มิสเตอร์ ยาน ซู ประธานบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด, มิสเตอร์ คอนเนล ชาง ประธานกรรมการบริหารบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป, ดอกเตอร์ แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย, นายธงชัย ล่ำซำ ประธานกรรมการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ นายสืบตระกูล สุนทรธรรม รองประธานกรรมการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ มาร่วมแสดงความยินดีภายในงาน

บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด เริ่มดำเนินธุรกิจในไทยตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2538 โดยตลอดระยะเวลา 28 ปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการลงทุนขยายธุรกิจ การขยายกำลังการผลิต และการจ้างงานในประเทศไทย ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของโครงการก่อสร้างในภาคอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ภาคธุรกิจการค้า ที่อยู่อาศัย และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

      “บลูสโคป เป็นบริษัทของคนไทย มีการร่วมทุนกับ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) สินค้าบลูสโคปเป็นสินค้าที่ผลิตในไทย 100% กระบวนการผลิตทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศไทย ในโรงงานบลูสโคปที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง บลูสโคปในดำเนินการผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศไทยมาเกือบ 3 ทศวรรษ” มิสเตอร์ ยาน ซู กล่าว

       นายสืบตระกูล สุนทรธรรม รองประธานกรรมการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า “สำหรับล็อกซเล่ย์ การร่วมมือกับพันธมิตร เราต้องมั่นใจว่า พันธมิตรนั้นๆที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น บลูสโคปก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่เราภูมิใจในการร่วมทุน เพราะบลูสโคปเป็นผู้นำตลาดเมทัลชีทในไทยมาตลอด 28 ปี และเราก็มีส่วนร่วมในการนำสินค้าคุณภาพดีมาให้คนไทยได้ใช้กัน”

               สำหรับบลูสโคป การผู้นำในการผลิตเหล็กเคลือบโลหะและเหล็กเคลือบสี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการนำความรู้จากประสบการณ์กว่า 100 ปีของบลูสโคปออสเตรเลีย มาร่วมกับประสบการณ์ในการผลิตเหล็กในประเทศไทยกว่า 28 ปี มุ่งมั่นพัฒนา เพื่อส่งมอบสินค้าที่ดี มีคุณภาพมากที่สุดให้กับผู้บริโภคมาโดยตลอด ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยประกอบกับความรู้ ประสบการณ์เฉพาะของบลูสโคป ทำให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐานการผลิตจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา โดยล่าสุดได้รับฉลาก Circular mark ซึ่งเป็นเมทัลชีทเจ้าเดียวที่ได้รับฉลากนี้ ยิ่งเป็นเครื่องการันตีถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์บลูสโคป

               ความแข็งแกร่งในแบรนด์ของบลูสโคปคือ การเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ทั้งจากพาร์ทเนอร์หลายบริษัท รวมถึงสถาปนิกและผู้ออกแบบจำนวนมาก ที่ไว้วางใจในผลิตภัณฑ์บลูสโคป นำไปเป็นส่วนหนึ่งการออกแบบ ก่อสร้าง และเสริมสร้างโปรเจกต์สำคัญต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์, สนามบินสุวรรณภูมิ, ศูนย์การค้าเวลา แอด สินธร วิลเลจ ฯ อีกทั้งในฐานะผู้นำในการผลิตเหล็ก บลูสโคปยังมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) และให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ได้สูงสุด  อาทิเช่น การลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิต เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงงาน หรือแม้กระทั่งสินค้า ก็เน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

               นอกจากนี้บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด ยังร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประกวดงานออกแบบอาคาร BlueScope Design Award 2022  เพื่อเป็นเวทีที่สถาปนิกและนักออกแบบมีโอกาสนำเสนอผลงานที่โดดเด่นจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบ และเหล็กเคลือบสีของบลูสโคป รวมถึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เน้นการออกแบบในเรื่องความยั่งยืน และขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิมสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต ทั้งยังสนับสนุนการศึกษา การวิจัยและการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม และเป็นการส่งเสริมการใช้วัสดุเมทัลชีทในการออกแบบ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้ามาในสายอาชีพให้มีศักยภาพ เพื่อความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและทันกับการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย โดยเฉพาะในเรื่องสังคมแห่งอนาคต ที่มุ่งเน้นไปที่สิ่งแวดล้อม   การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประสิทธิภาพ